บทบาทหน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน

บทบาทหน้าที่บัณฑิตแรงงาน

บทบาทหน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน

บัณฑิตแรงงาน หมายถึง ผู้ที่จบปริญญาตรีและสมัครใจทำงานให้แก่กระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดสันติสุขด้านแรงงานแก่ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไปรวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งในส่วนภูมิภาคในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนหรือผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านแรงงานในพื้นที่

 

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบัณฑิตแรงงาน

๑. เพื่อจ้างบัณฑิตที่ว่างงานในพื้นที่มาทำหน้าที่เป็นบัณฑิตอาสาและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานให้สนองตอบต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงแรงงานและของชาติตลอดจนถึงภารกิจด้านความมั่นคงของจังหวัดชานแดนภาคใต้

๒. เพื่อให้บัณฑิตแรงงานเป็นผู้ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานให้อาสาสมัครแรงงาน

๓. เพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานให้กว้างขวางมากขึ้น

๔. เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตแรงงานให้มีจิตสำนึกรักความสามัคคีต่อประเทศมีสำนึกในการให้และเสียสละเพื่อชุมชนและหมู่บ้านของตนเองรวมทั้งมีจิตสำนึกของความเป็นอาสาสมัคร ตลอดจนถึงตระหนักใน  ภาระ หน้าที่ด้านความมั่นคงทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ

๕. เพื่อเป็นสื่อกลาง และเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐบาลและประชาชนในพื้นที่

๖. เพื่อให้บัณฑิตแรงงานและอาสาสมัครแรงงานมีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่

 

หน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน

ในการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน กระทรวงแรงงานได้กำหนดหน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน ดังนี้

ก. หน้าที่เชิงวิชาการด้านแรงงานของบัณฑิตแรงงาน

๑. ศึกษาสภาพสังคมของตำบลที่บัณฑิตแรงงานรับผิดชอบ คือ

๑.๑. โครงสร้างประชากรการย้ายถิ่นของแรงงาน แรงงานผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ แรงงานผู้มีรายได้น้อย

๑.๒. ลักษณะอาชีพของประชาชนในหมู่บ้านและตำบล การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ วัฒนธรรมในการประกอบอาชีพ

๑.๓. แรงงานนอกระบบ สวัสดิการ ค่าแรงงานขั้นต่ำ สภาพการคุ้มครองแรงงาน การใช้แรงงานหญิงและเด็ก

๑.๔. ปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง ปัญหาการว่างงาน ปัญหาแรงงานไร้ฝีมือแรงงานต่างด้าว ปัญหายาเสพติด ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ปัญหาโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานการรับงานมาทำที่บ้าน

๒. การจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในพื้นที่มิติของการพัฒนาฝีมือแรงงาน มิติการจัดหางาน มิติสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มิติประกันสังคม มิติของแรงงานต่างด้าว มิติแรงงานนอกระบบ มิติแรงงานผู้สูงอายุ มิติแรงงานผู้มีรายได้น้อย มิติแรงงานหญิงและเด็ก มิติของค่าแรงงานขั้นต่ำ

๓. ประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานด้านแรงงานกับกลุ่ม (อปท.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และภาคเอกชน

๔. การสร้างเครือข่ายด้านแรงงานให้เกิดขึ้นด้านในเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดช่องทางในการติดต่อระหว่างเครือข่ายต่างๆกับอาสาสมัครแรงงานและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน

๕. การขยายการบริการด้านแรงงานลงสู่ระดับตำบลและหมู่บ้านโดยผ่านอาสาสมัครแรงงาน

ข. หน้าที่งานประจำของบัณฑิตแรงงานที่ต้องทำในรอบเดือน

๑. ด้านบริการจัดหางานภายในประเทศ

๑.๑ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลตำแหน่งงานว่าง ข่าวสารตลาดแรงงานที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานจัดหางานจังหวัด/สำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่หรือกรมจัดหางานให้กับผู้ที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศและประชาชนรับทราบ

๑.๒ ให้คำแนะนำปรึกษาแก่คนหางานทำและประชาชนทั่วไป ที่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการจัดหางานของรัฐที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

๑.๓ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างสำนักงานจัดหางานจังหวัด/สำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่หรือกรมจัดหางานให้ได้สมัครงานกับกรมจัดหางาน

๑.๔ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ว่างงานในท้องถิ่นเพื่อประสานส่งให้สำนักงานจัดหางานจังหวัด/สำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ ส่งไปทำงานตามตำแหน่งงานว่างเป็นการลดปัญหาการว่างงาน

๑.๕ รวบรวมตำแหน่งงานว่างในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

๑.๖ ติดตามผลการทำงานของผู้ที่ได้รับการส่งตัวไปพบนายจ้างแล้วรายงานสำนักงานจัดหางานจังหวัด

๒. ด้านการบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ

๒.๑ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการรับสมัครงาน ข่าวสารตลาดแรงงานต่างประเทศที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานจัดหางานจังหวัด

๒.๒ ให้คำแนะนำ ปรึกษา แก่ผู้ที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ

๒.๓ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคนงานและสำนักงานจัดหางานจังหวัด

๒.๔ แนะนำขั้นตอนและวิธีการลงทะเบียนที่ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ

๒.๕ ทำหน้าที่ประสานงานสถาบันการเงิน เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จำไปทำงานต่างประเทศได้ทราบขั้นตอนการขอกู้

๓. ด้านการแนะแนวอาชีพและส่งเสริมการประกอบอาชีพ

๓.๑ เผยแพร่ข้อมูลการประกอบอาชีพในระบบ

๓.๒ รวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ หมู่บ้าน พร้อมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ

๔. ด้านการควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว

๔.๑ ทำหน้าที่ประสานระหว่างสำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อรับข้อมูลข่าวสารไปถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนได้รับรู้ เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว

๔.๒ ให้คำแนะนำชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว

๕. ด้านการคุ้มครองคนหางาน

๕.๑ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวีการไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

 ๕.๒ สอดส่องดูแลและแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับพฤติกรรมการหลอกลวงคนหางานของสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน ให้กรมจัดหางาน